ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนล้านนา (ศศล.) ร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ฯจังหวัดแพร่ ปี พ.ศ.๒๕๕๔


ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนล้านนา (ศศล.) โดย ผศ.จำลอง คำบุญชูและคณะ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ ได้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเด็กจังหวัดแพร่ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ภายใต้กิจกรรม "พลังข้อมูลสู่วาระแห่งการดูแลคุ้มครองเด็กจังหวัดแพร่" เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาเด็ก พร้อมทั้งประกาศเป็นวาระเด็กจังหวัดแพร่ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรมมน้ำทอง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

การพัฒนาข้อเสนอโครงการยุววิจัยสังคม






เมื่อวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 08.30-15.00 น. ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนล้านนา (ศศล.) และโครงการยุววิจัยสังคมได้จัดประชุมในหัวข้อ "การพัฒนาข้อเสนอโครงการยุววิจัยสังคม" ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารอาลัมพาง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยมี ผศ.จำลอง คำบุญชู อ.ชุติมา คำบุญชู และคณะ ดำเนินการนำเสนอความเป็นมาแนวคิด จุดมุ่งหมายของการพัฒนาโครงการยุววิจัยสังคม โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมทั้งหมด 10 โรงเรียน ดังนี้

  1. โรงเรียนลำปางกัลยาณี
  2. โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา
  3. โรงเรียนโป่งหลวง รัชมังคลาภิเษก
  4. โรงเรียนทุ่งอุดมวิทยา
  5. โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย)
  6. โรงเรียนสบปราบพิทยาคม
  7. โรงเรียนทุ่งกว๋าววิทยาคม
  8. โรงเรียนแม่มอกวิทยา
  9. โรงเรียนเวียงมอกวิทยา
  10. โรงเรียนวังเหนือวิทยา

โดยแบ่งกลุ่มย่อยร่วมกันตั้งโจทย์ การพัฒนาโจทย์ และการวางแผนการเสนอโครงการวิจัยของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในการพัฒนาโจทย์วิจัยต่อไป

นักวิจัย Child Watch ภาคเหนือเป็นวิทยากรกระบวนการ






นักวิจัยโครงการ Child Watch ภาคเหนือรับเชิญเป็นวิทยากระบวนการ

นักวิจัยโครงการ Child Watch ภาคเหนือ โดย ผศ.จำลอง คำบุญชู หัวหน้าโครงการฯและคณะได้รับเชิญจากสำนักส่งเสริมสวัสดิภาพพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมเเละความมั่นคงของมนุษย์(พม.) เป็นวิทยากรกระบวนการในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กเเละเยาวชนปี 2554 โดยจัดเวทีเพื่อระดมความคิดเห็น 5 ครั้ง 5 ภาค มีตัวแทนสภานักเรียน ตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ตัวแทนองค์กรภาคเอกชน(NGO) ตัวแทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ตัวแทนสถานศึกษา ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนองค์กรภาคธุรกิจจากทุกจังหวัดร่วมระดมความคิดเห็น

ในการระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่ความมั่นคง แข็งแรง ดี มีสุขและสร้างสรรค์ ได้ดำเนินการระดมความคิดเห็นใน 5 ประเด็น คือ

1.การมีความมั่นคงทางครอบครัวและจิตใจ

2. การมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่แข็งแรง

3. การเป็นคนดี

4. การเป็นคนมีความสุ

5. การเป็นคนสร้างสรรค์

เวทีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเด็กเเละเยาวชน ทั้ง 5 ภาค

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเด็กเเละเยาวชน ปี 2554 ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2553 ณ โรงเเรมท็อปเเลนด์ จังหวัดพิษณุโลก

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเด็กเเละเยาวชน ปี 2554 ภาคกลาง ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2553 ณ โรงเเรมอยุธยาเเกรนด์ โฮเต็ล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเด็กเเละเยาวชน ปี 2554 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2553 ณ โรงเเรมราชพฤกษ์ เเกรนด์ โฮเทล จังหวัดนครราชสีมา

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเด็กเเละเยาวชน ปี 2554 ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม 2553 ณ โรงเเรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กเเละเยาวชน ปี 2554 กรุงเทพเเละปริมณฑล ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2553 ณ โรงเเรมบางกอกพาเลส กรุงเทพฯ

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กเเละเยาวชน ปี 2554 ทั่วประเทศระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2553 ณ โรงเเรม บางกอกพาเลส กรุงเทพฯ (รวมผู้แทนของแต่ละภาคส่วนทั้ง 5 ภาค มาระดมความคิดและนำเสนอข้อมูลอีกครั้ง) เพื่อนำเสนอข้อมูลแก่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน(ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี) เพื่อเป็นเเผนพัฒนาเด็กเเละเยาวชนของชาติต่อไป











นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน Child Watch Award ครั้งที่ 3 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยได้มอบรางวัลการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน Child Watch Award ครั้งที่ 3 แบ่งเป็น 3 รางวัล คือ

- รางวัลจังหวัดที่มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เด็กและเยาวชน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเลย จังหวัดตราด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสตูล และจังหวัดนนทบุรี
- รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลสบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง, องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย, เทศบาลตำบลบ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด,เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา, เทศบาลตำบลโพตลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี, เทศบาลตำบลโพนางดำนก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท, เทศบาลเมืองระนอง อ.เมือง จ.ระนอง, องค์การบริหารส่วนตำบลบานา อ.เมือง จ.ปัตตานี, เทศบาลตำบลนาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร, องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง อ.เมือง จ.นครปฐม
- รางวัลสภาเยาวชน 6 แห่ง ได้แก่ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่, สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี, สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา, สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเพชรบุรี, สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราช, สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี




10 สถานการณ์เด่น"เด็กปี′51"

แย่สุดแม่วัยรุ่นต่ำ19พุ่งเฉียด8หมื่นราย คุกเด็กลุ้นคดีลักทรัพย์-ยาเสพติด

สสส.สรุป 10 สถานการณ์เด่นของเด็กปี 51 แย่สุด แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 19 ปี ตั้งแต่ปี 48 พุ่งขึ้นเฉียด 8 หมื่นรายแลิว รองลงมา คุกเด็กเริ่มล้นปีนี้ปีเดียวมีกว่า 4 หมื่นรายส่วนใหญ่คดีลักทรัพย์-ยาเสพติด แถมน่าห่วงว่าปีหน้าเด็กไทยจะเครียดมากขึ้น แม้มีแนวโน้มดื่มสุรา-สูบบุหรี่ลดลง

เปเปอร์เรนเจอร์ ขบวนการคืนชีพให้กระดาษ

เชื่อไหมว่า "ขยะ" ในประเทศไทยมีมากเป็นล้านๆ ตัน เพราะคนไทยใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือยมากๆ ยิ่งตอนนี้กระแส "โลกร้อน" มาแรง หลายหน่วยงานจึงช่วยกันรณรงค์ "ประหยัด" "อนุรักษ์" ช่วยโลกไม่ให้ "ร้อน" ไปมากกว่านี้ เช่นเดียวกับอาสาสมัครหนึ่งในเครือข่ายจิตอาสา ทำ "โครงการคืนชีพให้กระดาษ" หรือ เปเปอร์ เรนเจอร์ (Paper Ranger) เพื่อนำกระดาษมาแปรรูปกลับมาใช้ได้อีก

"เพาเวอร์กรีน" ค่ายเยาวชนเพื่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้คนเราใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ถึงจะมากอย่างไร เมื่อเทียบกับการทำลายทรัพยากรธรรมชาติโดยน้ำมือมนุษย์ในระยะที่ผ่านมา ก็ยังเห็นว่าการใส่ใจดังกล่าวนั้นยังน้อยอยู่มาก

"วัฒนธรรม"ร่วมขบวนปราบสื่อลามก ย้ำ"ผู้ใหญ่ต้องดีก่อนห้ามปรามเด็ก"

สถานการณ์สื่อลามกที่แพร่ระบาดในสังคมปัจจุบันทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แพร่เข้าสู่แวดวงเด็กและเยาวชน กระทั่งคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัยที่นำโดยนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ทำงานเชิงรุก ติดตามและสกัดกั้นการแพร่กระจายของสื่อลามกทุกประเภท การบุกจับแผงขายการ์ตูนลามกภายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เมื่อต้นเดือนเม.ย. ร่วมกับเครือข่ายพ่อแม่ เป็นการเปิดฉากกวาดล้างสื่อลามกอนาจารในสังคมไทย


"ราชบัณฑิตยสถาน"จับมือศธ. ทดสอบภาษาไทยครู-นักเรียน

นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า ราชบัณฑิตยสถานได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาไทย โดยจัดทำเกณฑ์มาตรฐานภาษาไทยเพื่อวัดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนภาษาไทยของ นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และจัดทำข้อสอบวัดมาตรฐานวิชาภาษาไทย สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการทดสอบความสามารถของครูสอนวิชาภาษาไทย ทั้งนี้ จะต้องนำเสนอนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลราชบัณฑิตยสถาน ก่อนจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาประกาศเป็นเกณฑ์มาตรฐานแห่งชาติต่อไป คาดว่าจะสามารถนำไปใช้ได้ภายในปี 2551